ตลาดไม่เชื่อใจเฟด
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า เฟดได้ส่งสัญญานการคุมเข้มทางการเงินอย่างน่าประหลาดใจในการประชุมเดือนมิถุนายน โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 0.25% และส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งภายในปีนี้ (และอีก 3 ครั้ง ในปี 2018) พร้อมทั้งเปิดเผยว่าจะมีการเริ่มปรับปริมาณพอร์ตงบดุลลงเร็วๆนี้ แต่ทว่าเหล่านักลงทุนกลับยังไม่เชื่อว่าเฟดจะคุมเข้มทางการเงินจริง โดยโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้อยู่ที่ 53% โดยพิจารณาการตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาอ่อนแอ และสัญญานจากถ้อยแถลงของสมาชิกเฟดที่ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการคุมเข้มทางการเงิน
แต่ตลาดควรเชื่อ
เฟดได้หลีกเลี่ยงที่จะเปลี่ยนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินมาโดยตลอด ก่อนที่จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม ปี 2015 ท่ามกลางความน่าเชื่อถือของเฟดที่กำลังตกที่นั่งลำบาก หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนั้น เฟดก็ได้หยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอีก 1 ปีเต็ม แต่ว่าบางสิ่งกลับเกิดขึ้น นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง แม้จะมีสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม
ทำไมเฟดถึงเปลี่ยนไป?
การดำเนินนโยบายของเฟดพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงนี้ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด โดยเหตุผลอาจเกี่ยวข้องกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และคณะบริหารของเขาที่ครอบครองอำนาจส่วนใหญ่ในสภาคองเกรส อาจมีการต่อต้านนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายก็เป็นได้ หรืออาจเป็นเพราะ เฟดระมัดระวังปัญหาความเสี่ยงที่อาจตามมาหลังภาวะวิกฤตของตลาดหุ้นเมื่อต้นปี 2016 ประกอบกับอัตราว่างงานที่ลดลงขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มฟื้นตัว และเหตุผลสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คือความกังวลของเฟดเกี่ยวกับภาวะฟองสบู่ของสินทรัพย์และการเก็งกำไรจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
แล้วจะส่งผลกับราคาทองคำอย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นกับการดำเนินนโยบายของเฟดจะส่งผลด้านลบต่อราคาทองคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ นั่นเป็นการแสดงว่า เฟดตั้งใจที่จะดำเนินนโยบายเชิงคุมเข้มทางการเงิน โดย ณ ปัจจุบัน ตลาดคาดการณืโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 50% จึงมีโอกาสที่ราคาทองคำจะถูกกดดันจากกระแสคาดการณ์ได้
อย่างไรก็ดี หากเฟดดำเนินนโยบายคุมเข้มการเงินในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว อาจจะส่งผลให้เกิดวิกฤติทางการเงินได้ในอนาคต กล่าวได้ว่า หากนักลงทุนในตลาดรู้สึกตัวแล้วว่าเฟดไม่ได้สนับสนุนพวกเขาอย่างที่เคยเป็น พวกเขาก็จะหันเข้าหาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ Safe-haven
บทสรุป
รูปแบบการดำเนินนโยบายของเฟดได้เปลี่ยนไปเป็นเชิงคุมเข้มทางการเงินแล้ว นักลงทุนจึงควรปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม หากอัตราว่างงานสหรัฐฯยังคงอยู่ในระดับต่ำและไม่มีสัญญานถึงวิกฤติทางการเงิน เฟดก็น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ ซึ่งราคาทองคำจะถูกกดดันลงไป จนกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯเริ่มที่จะอิ่มตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ที่มา: Gold Eagle