ความน่าสนใจ:
- ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเกือบแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร หลังจากที่อีซีบีส่งสัญญาณว่า จะเริ่มต้นหารือเพื่อลดแผนการเข้าซื้อพันธบัตร
- ค่าเงินดอลลาร์ถูกดดันจากความกังวลว่า กรณีการสืบสวนเรื่องการพัวพันกับรัสเซีย อาจชะลอแผนปฏิรูปภาษีออกไป รวมทั้งนโยบายการสนับสนุนเศรษฐกิจอื่นๆของทีมบริหารนายทรัมป์
- นักกลยุทธ์รายหนึ่ง เผยว่า ยังไม่มีอะไรจะฉุดรั้งการอ่อนค่าของดอลลาร์ในครั้งนี้ได้!
ดูเหมือนว่าในขณะนี้จะยังไม่มีปัจจัยใดๆมายุติการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ในขณะนี้ได้ หลัจากที่เมื่อวานนี้ นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบี ส่งสัญญาณว่าจะหารือเรื่องการเริ่มต้นลดโปรแกรมการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ก.ย. – พ.ย.) ก็ส่งผลให้ค่าเงินยูโรกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยถึงแม้ว่าถ้อยแถลงของประธานอีซีบีจะยังส่งสัญญาณผ่อนคลายาทงการเงินและยังไม่มีความชัดเจนใดๆ แต่ค่าเงินยูโรก็ปรับแข็งค่าขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ค่าเงินยูโรทรงตัวแถวระดับ 1.1615 ดอลลาร์/ยูโรในวันนี้ หลังจากที่ขึ้นไปทำจุดสูงสุดแถวระดับประมาณ 1.163 ดอลลาร์/ยูโร หรือปรับแข็งค่าขึ้นกว่า 1.1% วานนี้ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมาทำระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน และเคลื่อนไหวบริเวณ 94.27 จุด โดยร่วงลงต่อจากภาพรวมสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ปรับตัวลงไป 1.5%
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรในปีนี้ปรับอ่อนค่าลงไปแล้ว 10%
นักกลยุทธ์จาก Brown Brothers Harriman กล่าวว่า ค่าเงินยูโรได้รับแรงหนุนจากปริมาณการเข้าซื้อที่แข็งแกร่ง และมีแนวโน้มที่ค่าเงินยูโรจะปรับแข็งค่าขึ้นไปแถวระดับ 1.20 ดอลลาร์/ยูโรได้ ขณะที่อีซีบีน่าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3/2017 และตลาดตอบรับกับแนวทางดังกล่าว แม้ว่าประธานอีซีบีจะไม่ได้ส่างสัญญาณใดๆ แต่ตลาดก็ยังเชื่อว่าจะเห็นอีซีบีตัดสินใจในเดือนกันยายนนี้
ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการสืบสวนเรื่องความพัวพันกับรัสเซียที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่สร้างความสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการปฎิรูปภาษี
ดังนั้น ในขณะนี้ยังไม่มีอะไรจะต้านทานการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ได้ ซึ่งนักวิเคราะห์รายอื่นๆก็ยังเชื่อว่าค่าเงินดอลลาร์อาจพร้อมที่จะกลับมาแข็งค่า หากตราสารหนี้มีการปรับตัวขึ้น จากมุมมองที่ว่าบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่างพร้อมที่จะเดินหน้าคุมเข้มทางการเงิน
ที่มา: CNBC